ข่าวประชาสัมพันธ์
อัพเกรดความรู้ “เกื้อกูลLEs คน ของ ตลาด โมเดล” เพิ่มคุณค่าในการทำธุรกิจเกื้อกูลชุมชน ในงาน “SUPER เกื้อกูลLEs Exposition 2024”
มูลนิธิสถาบันเกื้อกูลเศรษฐกิจชุมชน องค์กรส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจชุมชนให้มีทักษะ มีความสามารถ มีกลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจที่เน้นเกื้อกูลชุมชน เพื่อผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สังกัด สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดงาน “SUPER เกื้อกูลLEs Exposition 2024” อัพเกรดความรู้ “เกื้อกูลLEs คน ของ ตลาด โมเดล” เพิ่มคุณค่าในการทำธุรกิจเกื้อกูลชุมชน พร้อมหลากหลายกิจกรรมให้ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติจริง จากการใช้เครื่องมือ ทำกิจกรรม และสร้างกลยุทธ์ในการปั้นธุรกิจชุมชนที่จะเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แบบเน้นคุณค่า แบ่งปัน เกื้อกูล และเติบโตไปด้วยกันทั้งชุมชนและเครือข่ายรอบข้าง เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ MCC Hall ชั้น 3 เดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ
พิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและกล่าวถึงภาพรวมกระบวนการทำงานของ Local Enterprises (LEs) 2024 ร่วมด้วย ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises พร้อมทั้งผู้ประกอบการจากธุรกิจชุมชนเกื้อกูลจากทั่วประเทศกว่า 205 คนเข้าร่วมงาน
ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ผู้อำนวยการกรอบการวิจัย Local Enterprises กล่าวถึง เกื้อกูลLEs คน ของ ตลาด โมเดล ว่าคือโมเดลกลยุทธ์ธุรกิจที่ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนประสบความสำเร็จในการสร้างธุรกิจแบบโตไปด้วยกัน ด้วย 3 เสาหลัก อันเป็นกลไกสำคัญ ประกอบด้วย
เสาหลักที่ 1 เกื้อกูล SUPER COACH ซูเปอร์ผู้ใหญ่บ้านปันกัน กับบทบาทในการเชื่อม ช่วย เชียร์ ปรับเปลี่ยน mindset ให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มพูนความสามารถในการทำธุรกิจ การเก็บข้อมูล การทำการตลาด ผ่านการทำกิจกรรมหลากหลาย และ การให้เวลากับผู้ประกอบการชุมชนอย่างเต็มที่ anywhere anytime ฯลฯ
เสาหลักที่ 2 เกื้อกูล SUPER BOARD GAME ซูเปอร์บอร์ดเกมกลยุทธ์ธุรกิจ ที่จะปลูก skillset ให้กับผู้ประกอบการทุกระดับตามความเหมาะสม ตั้งแต่ผู้ผลิต(producer) ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน (local enterprise) และนักวิจัย (local knowledge manager – LKM) ผ่านการฝึกฝนกับ 5 สุดยอดซูเปอร์บอร์ดเกม ได้แก่
- ‘บอร์ดเกม กระเป๋าตังค์ครัวเรือน – กระเป๋าตังค์ธุรกิจ’ ให้ความรู้และติดตามการจัดการกระเป๋าตังค์ของผู้ประกอบการทุกระดับในธุรกิจชุมชน ให้สามารถวางแผนการเงินและวางแผนธุรกิจได้เอง
- ‘บอร์ดเกม การตลาด ฟาดมโน’ เทคนิคและกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะกับธุรกิจ และ สามารถสร้างจุดขาย และ หาจุดยืนของธุรกิจตนเองได้ จนออกแบบกลยุทธ์ “รู้เรา รู้เขา รู้ใจ” ได้จริง
- ‘บอร์ดเกม การบริหารจัดการธุรกิจ’ บนฐานคิด “คน ของ ตลาด” ฝึกทักษะในการบริหารสต๊อกและหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจ เข้าใจคำว่าขาดทุน-กำไร จริงๆ
- ‘บอร์ดเกม อยากผิด…ชีวิตบรรลัย’ รู้ลึกถึงอุปสงค์ อุปทานการผลิต การวางแผนการผลิตของธุรกิจที่ตอบโจทย์ตลาดและตรงใจผู้บริโภค พอดีๆ
- ‘บอร์ดเกม ทำ(มั้ย)…ธรรม’ กับการจัดการ Value Ecosystem ทั้งระบบธุรกิจอย่างมีสติ มีภูมิคุ้มกัน
เสาหลักที่ 3 เกื้อกูล SUPER APP สุดยอดซูเปอร์ DATA ANALYTICS ที่สร้าง Toolset ที่ทำให้เกิดการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนอย่างเป็นระบบ อาทิ กระเป๋าตังค์ครัวเรือน กระเป๋าตังค์ธุรกิจ สมุดบันทึกการผลิต การจัดการห่วงโซ่คุณค่า เพื่อทำการวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจทุกเหลี่ยม ทุกองศา ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Data-driven Business Strategy)
ภายในงาน ยังมีการจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์คุณภาพจากธุรกิจปันกันที่เน้นเกื้อกูลชุมชน “เกื้อกูล Les Market ช้อปฉ่ำ” ตลาดสินค้าปันกันที่คิดอย่างปังแต่ยั่งยืนทั้งคน ทั้งชุมชน และทั้งโลก ที่ยกมาทั้งอาหารและงานคราฟท์จากทั่วประเทศถึง 130 ร้านค้า ซึ่งทั้ง 130 ร้านค้านี้ ทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ถึง 2,752 คน ประมาณการมูลค่าถึง 6,101,100 บาท
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการธุรกิจท่านใด สนใจเข้าร่วมธุรกิจชุมชนที่เน้นเกื้อกูลคน ชุมชน และโลก พร้อมจะเรียนรู้แนวทางการปั้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แบบเน้นคุณค่า แบ่งปัน เกื้อกูล และเติบโตไปด้วยกัน สามารถสมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายธุรกิจปันกัน รุ่นที่ 5 ซึ่งจะเปิดรับสมัครในช่วงปลายปีนี้ ติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook Fanpage: ธุรกิจปันกัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจเข้าร่วมโครงการ Local Enterprises (LEs) ได้ที่:
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
สังกัดสำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
โทรศัพท์ 0 2109 5432 ต่อ บพท. หรือ เว็บไซต์ : https://www.nxpo.or.th/A/
รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อการประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ:
พัชรี เลิศปกรณ์ชัย มือถือ 081 917 3441